ชิลเลอร์ หรือ Chiller มีส่วนประกอบที่สำคัญคืออะไรบ้าง



Categories:

ชิลเลอร์ หรือ Chiller เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีชื่อเรียก อีกอย่างว่าเครื่องทำความเย็น 

ในปัจจุบัน ชิลเลอร์ หรือ Chiller เป็นที่นิยมมากทั้งในชีวิตประจำวันของเรารวมไปถึงทางโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายขนาดด้วยกัน จะนำมาใช้สำหรับควบคุมอุณหภูมิและการควบคุมความชื้นไม่ให้เกินค่ามาตรฐานตามที่ตั้งไว้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในเรื่องสภาพอากาศให้มีความสะอาดทางให้เราได้อีกด้วย

ชิลเลอร์ หรือ Chiller มีส่วนประกอบหลักๆในการทำงานดังนี้

  • Compressor (คอมเพรสเซอร์)ทำหน้าที่ในการผสานทำความเย็นให้เกิดการหมุนเวียนไปตามท่อน้ำยาแล้วทำให้เกิดการควบแน่นมีความเย็นและมีแรงดันที่สูง
  • Condenser (คอยล์ร้อน)จะทำหน้าที่ระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น เพื่อที่สารทำความเย็น จะสามารถส่วนตัวเปลี่ยนสถานะมาเป็นของเหลวได้ 
  • Evaporator (คอยล์เย็น)จะทำหน้าที่คอยแลกเปลี่ยนความร้อนให้กับสารทำความเย็นเพื่อให้เกิดการระเหยเป็นไอเย็น จึงเกิดการทำความเย็นส่งออกมา
  • Expansion Device (ชุดอุปกรณ์ลดความดัน)จะช่วยในการปรับลดความดันที่อยู่ภายในให้มีแรงดันที่เหมาะสม และสามารถลดอุณหภูมิและจุดเดือดของสารทำความเย็นด้วยเช่นกัน 
  • Air Filter (ระบบกรองอากาศ) จะทำหน้าที่คอยดักจับละอองฝุ่นต่างๆ รวมไปถึงสิ่งเจือปนชนิดต่างๆที่เข้ามาในระบบการฟอกอากาศ และระบายอากาศนั่นเอง
  • Dehumidifier (ระบบดูดความชื้น)จะมีรูปแบบในการทำงานที่เป็น Circle โดยการลดความชื้นหรือกำจัดความชื้นจากอากาศทำงานร่วมกับแผงคอยล์เย็นโดยจะทำการดูดอากาศไปกักเก็บไว้เปลี่ยนสถานะให้เป็นไอน้ำ หรือหยดน้ำแล้วทำการปล่อยไปยังระบบทิ้งน้ำทันที 
  • Refrigerant (สารทำความเย็น)เป็นตัวกลางที่คอยทำการแลกเปลี่ยนความร้อน โดยการเปลี่ยนสถานะของสารทำความเย็นด้วยการกระตุ้น จากอุปกรณ์ที่คอยป้อนความเย็นและความร้อนให้ จึงทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความเย็นป้อนเข้าสู่ระบบทำความเย็นต่อไป

ชิลเลอร์ หรือ Chiller มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง

ชิลเลอร์ หรือ Chiller จะมีระบบการทำงานโดยจะนำสารทำความเย็นที่ผ่านมาจาก คอมเพรสเซอร์ ที่คอยทำหน้าที่ดูดอัดสารทำความเย็นให้เกิดเป็นแก๊สที่มีความเย็นและแรงดันสูงส่งไป คอนเดนเซอร์ เพื่อเปลี่ยนสถานะให้ความร้อนแก่น้ำยาทำความเย็น จนเกิดเป็นของเหลวอีกรอบ และจะมีแรงดันที่สูงอยู่ แล้วส่งต่อไปยัง อุปกรณ์ลดแรงดัน Extension device เพื่อปรับลดแรงดันของน้ำยาก่อน ก่อนส่งเข้าคอยล์เย็น เพื่อทำให้เกิด ระบบการทำความเย็นต่อไป

ในปัจจุบันชิลเลอร์ หรือ Chiller มีการผลิตหลากหลายแบรนด์ ซึ่งจะเห็นโดยทั่วไปชิลเลอร์ แบบตั้งพื้น และติดผนัง นิยมเรียก Mini Chiller ส่วนในภาคอุตสาหกรรมจะนิยมติดตั้งในอุตสาหกรรมรูปแบบต่างๆจะเป็นชิลเลอร์ที่มีขนาดใหญ่ให้ความเย็นได้อย่างทันที หากมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ มีการออกแบบในการติดตั้งอย่างเหมาะสมต่อสภาพการใช้งาน ซึ่งจะสามารถช่วยให้ชิลเลอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากขึ้นนอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้อีกด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *